

“ไข่ไก่” ทั้งฟองมีปริมาณโปรตีนและโคลีนอยู่มาก เนื่องจากโปรตีนที่มีอยู่ กระทรวงการเกษตรสหรัฐอเมริกาจึงจัดประเภทไข่ไก่ว่าเป็น เนื้อสัตว์ ในพีระมิดอาหาร อย่างไรก็ดี แม้ไข่ไก่จะมีคุณค่าทางโภชนาการ แต่ก็มีแนวโน้มก่อปัญหาสุขภาพได้โดยเฉพาะคนที่มีอาการแพ้ไข่ ทั้งๆที่ในความเป็นจริงแล้วไข่เป็นอาหารที่พบการแพ้บ่อยที่สุดอย่างหนึ่งในทารก และทารกมักหายจากอาการแพ้ไข่ได้เมื่อโตขึ้น ส่วนใหญ่พบเป็นการแพ้ไข่ขาวมากกว่าไข่แดง
เริ่มต้นจากการทำความเข้าใจถึงองค์ประกองทางโภชนการของไข่ไก่เสียก่อนว่า ไข่ไก่นั้นให้กรดอะมิโนจำเป็นทุกชนิด ตลอดจนวิตามินและเกลือแร่อีกหลายชนิด โดยหลักๆ เป็นกลุ่มวิตามินบี
ทั้งนี้ไข่แดงขนาดใหญ่ให้พลังงานประมาณ 60 แคลอรี (250 กิโลจูล) ไข่ขาวให้พลังงานประมาณ 15 แคลอรี (60 กิโลจูล) โดยไข่แดงหนึ่งใบมีปริมาณโคลีนเกือบครึ่งหนึ่งของปริมาณที่แนะนำต่อวัน ทั้งนี้โคลีนเป็นสารอาหารสำคัญต่อพัฒนาการของสมองและมีความสำคัญต่อสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตรเพื่อประกันพัฒนาการสมองในทารก
“หากอายุน้อยกว่า 50 ปี ระดับปริมาณของคอเลสเตอรอลในหลอดเลือดมีผลโดยไปในทางเดียวกันกับอัตราการเสียชีวิตโดยรวมและโรคหลอดเลือดโดยรวมในช่วงเวลา 30 ปี โดยทุกๆ 10 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรของคอเลสเตอรอลที่เพิ่มขึ้น จะมีอัตราความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตโดยรวมเพิ่มขึ้นด้วยประมาณ 5% ในขณะเดียวกันก็จะเพิ่มอัตราความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดและหัวใจเพิ่มขึ้น 9 %
ดังนั้นหากใครที่คิดว่าตัวเองมีอายุ 50 ปีขึ้นไป แล้วมีคอเลสเตอรอลตกลงและต้องการเพิ่มแหล่งอาหารคอเลสเตอรอลเพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการสังเคราะห์ให้ได้ฮอร์โมน เยื่อหุ้มเซลล์ วิตามินดี และฉนวนหุ้มปลายประสาท ให้มากขึ้น นอกจากการจะออกกำลังกายและเพิ่มอัตราการเผาผลาญให้ตับด้วยการดื่มน้ำมันมะพร้าวแล้ว ไข่แดงเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสงสัยว่าอาจจะตอบโจทย์นี้ได้
เพราะไข่แดงเป็นแหล่งอาหารของคอเลสเตอรอล แต่ไข่ขาวแทบไม่มีคอเลสเตอรอล ทั้งนี้แคลอรีเกินครึ่งหนึ่งของไข่มาจากไขมันที่อยู่ในไข่แดง โดยไข่ไก่ขนาดใหญ่ (50 กรัม) มีไขมันอยู่ประมาณ 5 กรัมอย่างไรก็ตามกรดไขมันในไข่ไก่จะออกมาเป็นอย่างไรและเป็นประโยชน์มากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับอาหารที่เลี้ยงไก่นั้นด้วย
“ไขมันในรูปฟอสโฟลิพิด (Phospholipid) ที่มีอยู่ในไข่ไก่นั้นจะเข้าไปแทรกแทรงและขัดขวางกระบวนการดูดซึมคอเลสเตอรอลในลำไส้ให้น้อยลงอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อลำไส้ดูดซึมคอเลสเตอรอลได้ลดน้อยลง เป็นผลทำให้การเพิ่มคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดนั้นไม่ได้มากอย่างที่หลายคนจะคาดคิด”
ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อข้อมูลเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าไข่ไก่เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของวิตามินเอ วิตามินอี วิตามินบี วิตาบินบี-6 วิตามินบี 12 และโฟเลท ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าจะทำให้ลดปริมาณระดับ โฮโมซินสเทอีน (Homocysteine) ในกระแสเลือดซึ่งเป็นตัวการที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดและอัมพาตด้วย